Web Analytics Made Easy - Statcounter

3 วิธีการตรวจเช็คกล้องวงจรปิดเสียหรือไม่

3 วิธีการตรวจเช็คกล้องวงจรปิดเสียหรือไม่

การที่จะตรวจเช็คกล้องวงจรปิด ว่าเสียหรือไม่นั้นตรวจเช็คกันได้ไม่ยากเพียงแต่ว่าทุก ๆ ท่านส่วนมากจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบของตัวกล้องชนิดนี้กัน แต่ถ้ามีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของตัวกล้องก็จะเป็นเรื่องง่ายมากในการตรวจเช็ค อุปกรณ์ทั้งหมดงั้นขอว่ากันเป็นข้อ ๆ แล้วกันคะว่าเริ่มจากที่ไหนเป็นอันดับแรกและอันไหนเป็นอันดับสุดท้าย

[lwptoc]

ตรวจเช็คที่หม้อแปลงไฟกล้อง

อันดับแรกในการตรวจเช็คก็คือตัวหม้อแปลงกล้องเพราะตัวหม้อแปลงจะเป็นด่านแรก ในการป้องกันการกระชากของไฟที่มาเลี้ยงตัวกล้องไม่ให้เสีย ตัวหม้อแปลงจะมีหน้าที่ในการจ่ายไฟให้กับตัวกล้องและอีกหน้าที่ก็คือช่วย ปกป้องตัวกล้องไม่ให้เสียเร็วเกินไปจากสาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร แต่ก็ไม่ใช่ตัวหม้อแปลงทุกตัวนะคะที่จะมีระบบนี้ เพราะปัจจุบันนี้หม้อแปลงที่แถมมากับตัวกล้องจะโดนตัดระบบนี้ออกไป เพื่อที่สามารถแข่งขันด้านราคากันได้

 

กล้อง IP CAMERA

วิธีการตรวจเช็คก็ให้ทำการนำหม้อแปลงไฟตัวนั้นมาวัดค่าไฟที่จ่ายว่าได้กี่โวลต์โดยส่วนมาก ตัวกล้องจะกินไฟที่ 12V 1แอมป์ในกรณีที่ไฟอินฟาเรดทำงานหรืออาจจะมากกว่านั้น มันขึ้นอยู่กับตัวหลอดอินฟาเรดกินไฟเท่าไหร่ด้วยนะคะ วิธีการตรวจเช็คก็คือใช้มิเตอร์ในการวัดโดยปรับไปที่การวัดโวลต์แล้วดูว่าได้ค่ามาถึง 12V หรือไม่ถ้าต่ำกว่า 12V ก็ให้ทำการเปลี่ยนหม้อแปลงไฟก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ก็จะมีบางเคสที่ค่าโวลต์ตรงแต่ค่าแอมป์ไม่พอซึ่งการตรวจเช็คค่าแอมป์นั้นทำได้ยากมาก แต่จะมีจุดสังเกตุโดยวิธีการดูภาพว่าสั่นหรือไม่และสีภาพของตัวกล้องที่แสดงออกมานั้นจางลงกว่าปรกติหรือไม่และสังเกตุในช่วงเวลากลางคืนว่าภาพกล้องกระพริบหรือไม่ถ้ามีอาการแบบที่กล่าวมานั้นก็เปลี่ยนเถอะคะถ้าตรวจเช็คหม้อแปลงไฟแล้วปรกติทั้งหมดก็มาตรวจเช็คในข้อถัดไปกันได้เลยคะ

ติดต่อเราเพื่อใช้ >>> บริการ ติดกล้องวงจรปิด ประกันผลงานนาน 1 ปี <<< CCTVOKAMI.COM

Line : @okamicctv Tel: 02-543-6905, 083-907-4400

ตรวจเช็คที่สายสัญญาณกล้อง

อันดับถัดไปก็เป็นเรื่องของสายสัญญาณภาพของตัวกล้อง แต่ต้องสังเกตก่อนนะคะว่ามีอาการแบบนี้หรือไม่ ภาพมืด, ภาพเป็นเส้น, สัญญาณภาพหายและมาเป็นช่วง ๆ, ภาพล้มดูภาพไม่รู้เรื่อง ถ้ามีอาการแบบนี้ก็ให้ตรวจเช็คที่สายสัญญาณได้เลยคะวิธีการตรวจเช็คก็แค่นำมิเตอร์วัดไฟมาปรับค่าไปที่วัดค่าโอม ซึ่งการวัดค่าโอมจะเป็นการตรวจว่ามีการปล่อยสัญญาณมาหรือไม่ วิธีการก็คือถอดสายกล้องที่หลังเครื่องบันทึกออกมาก่อนแล้วทำการวัดค่าดูว่าค่าโอมขึ้นและลงหรือไม่ ถ้าขึ้นค้างหรือไม่มีสัญญาณมาเลยแปลว่าสายสัญญาณมีโอกาสเสีย 50เปอเซ็นแล้วล่ะคะ

การเช็คให้แน่ใจว่าสายเสียอีกขั้นก็คือถอดสายหลังตัวกล้องและตัวหัว BNC ออกและปลอกสายออกมาเลยโดยสายที่ปลอกออกมานั้นให้จับมัดรวมกันและส่วนปลายสายก็ ให้ทำการตัดหัวและแยกสายออกมาทั้ง 2 เส้นโดยอย่าให้สายสัญญาณชนกันนะคะและนำมิเตอร์วัดไฟมาวัดค่าโอมดูว่าสายสัญญาณมีการตอบรับหรือไม่ถ้ามีตัวเลขวิ่งขึ้นค้างแปลว่าสายไม่เสียแต่ถ้าวัดแล้ว ตัวเลขไม่มีการขยับเลยก็แปลว่าสายสัญญาณเสีย 100เปอเซ็น

แต่ก็จะมีบางเคสนะคะที่ทุกอย่างปรกติหมดแต่ภาพมา ๆ หาย ๆ เป็นบางครั้งวิธีการแก้ไขก็มีวิธีเดียวก็คือเปลี่ยนสายสัญญาณ แต่ก็มีจุดสังเกตุนะคะว่าเข้ากรณีนี้หรือไม่ก็คือดูว่าสายสัญญาณที่เดินนี้เกิน 10 ปีหรือยังถ้าเกิน 10 แล้วโอกาสเยอะมากที่สายจะมีปัญหาแต่ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพสายที่ใช้ด้วยนะคะ แต่ถ้าเป็นสายที่ปัจจุบันขาย ๆ กันก็อายุการใช้งานลดลงเยอะมากคะบางยี่ห้อใช้งานได้ไม่เกิน 3 ปีก็มีแล้วคะ

ตรวจเช็คที่ตัวกล้องว่าทำงานปรกติหรือไม่

ถ้าไม่ตรวจเช็คแล้วผ่านทั้ง 2 ข้อด้านบนก็จะเป็นสาเหตุสุดท้ายแล้วล่ะคะ วิธีการตรวจเช็คอันนี้ก็ง่าย ๆ เลยคะเพียงถอดกล้องออกมาแล้วนำมาต่อเข้ากับหลังเครื่องบันทึกโดยเสียบทิ้งไว้ประมาณ 2 วันนะคะให้ไฟไปเลี้ยงตัวกล้องนานหน่อยเพื่อตรวจเช็คเรื่องการทนความร้อนของตัวกล้อง ไม่ใช่ว่าต่อกล้องแล้วภาพขึ้นก็แปลว่ากล้องไม่เสียแล้ว กล้องบางตัวกว่าจะปรากฏอาการก็ประมาณ 2-3 วันก็มีคะแต่ถ้าอยากรีบตรวจเช็คเพราะไม่มีเวลาก็มีวิธีคะ เพียงนำตัวกล้องมาคุมผ้าเอาไว้เพื่อให้อินฟาเรดทำงาน 24 ชม.ดูก็สามารถตรวจเช็คได้แล้วล่ะคะ

สรุปการตรวจเช็คให้ทำตาม 3 ขั้นตอนด้านบนเป็นการตรวจเช็คเบื้องต้นนะคะเพราะถ้าตรวจเช็คทั้งหมดล่ะก็ต้องดูการเป็นหลักด้วยซึ่งอาการของแต่ละพื้นทีจะไม่เหมือนกันแล้วแต่ว่า กล้องที่ใช้เป็นของที่ไหนขนาดเป็นสินค้าแบรน์เดียวกันยังมีหลายเกรดเลยล่ะคะขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้นำเข้ามาทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับราคาที่เค้าต้องการเพราะโรงงานสามารถลดคุณภาพของตัวสินค้าได้อยู่แล้ว